วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่16

วัน อังคาร ที่ 25 กันยายน พ.ศ.2555

-อาจารย์ให้เขียน ข้อดีและข้อจำกัด ของการนำ Teblet มาใช้ในระดับอนุบาล
และระดับประถมศึกษา


ข้อดี ข้อเสียและทางออก

ข้อดี
  1. แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็ก ๆ
  2. ทำให้ครูสามารถเข้าถึงรูปภาพ วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น
  3. เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็ก ๆ ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา
  4. ใช้เป็นวิดีโอแชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขินอายเหมือนกับการสื่อสารต่อหน้าจริง ๆ
  5. ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น แตกต่างจากการเรียนจากหนังสือซึ่งน่าเบื่อและเข้าใจยากกว่า
ข้อเสีย
อาจมีเด็กจำนวนมากติดอินเทอร์เน็ตถึงขั้นที่ต้องพบจิตแพทย์ ดังที่ปรากฏในประเทศเกาหลีใต้
นอกจากนี้ นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า
  1. เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคน
    ขาดหรือออกกำลังกายน้อยลง
  2. มีปัญหาเรื่องสายตา
    กล่าวคือมีปัญหาด้านสุขภาพ
  3. เป็นการปูพื้นฐานให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง เนื่องจากติดเกมส์
ครูและผู้บริหารการศึกษาบางท่านยังมีความเห็นว่า
  1. รัฐบาลควรพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้โรงเรียนทุกแห่งให้ได้เสียก่อน
  2. ยังไม่จำเป็นต้องแจกแท็บเล็ตให้กับเด็ก ป.1 ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ แทนที่จะได้ประโยชน์ อาจกลับส่งผลร้าย
  3. การเรียนรู้จากอินเทอร์เน็ตน่าจะเป็นระดับ ป.4 ขึ้นไป ป.1 น่าจะเรียนรู้พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า โดยใช้เพียงเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
สำหรับนโยบายของรัฐบาลจัดซื้อแท็บเล็ตให้กับเด็ก ป.1 กว่า 12 ล้านคนทั่วประเทศที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ จะมีความคุ้มค่ากับงบประมาณหรือไม่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
จากhttp://ta6let.com/advantage

-สรุป ทบทวนบทเรียนเรื่องที่เรียนมา
แนวคิด แก่นเนื้อหาที่จะนำไปใช้หัวข้อวิชา
 คิดวิเคราะห์ทักษะทางวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ผสม

1.เคลื่อนไหวและจังหวะ
     -เพลง
2.กิจกรรมสร้างสรรค์
   -การประดิษฐของเล่น
3.กิจกรรมศิลปะ
   -การผสมสี
   -เอาเนื้อหาางวิทยาศาสตร์มาใส่ เช่น สีแดงเมื่อนำมาผสมกับสีน้ำเงิน แล้วกลายเป็นสีม่วง ทักษะการสังเกต
4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
   -กิจกรรมมีวัตถุประสงค์จัดการลดลองอย่างเป็นระบบ ธรรมชาติสิ่งรอบตัว
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
   -พลังงาน เอาวิทยาศาสตร์มาใส่ในเกมกิจกรรม เช่น กิจกรรมตักน้ำ กิจกรรมเหยียบลูกโป่ง จำแนกเปรียบเทียบ
6.เกมการศึกษา
   -ทักษะการสังเกต
   -จำแนกเปรียบเทียบ
   -สังเกตการเปลื่ยนแปลง
  เช่น เกมลอตโต้ โดมืโน่ จิ๊กซอ อุปมา อุปมัย และ การเรียงลำดับเหตุการณ์


หลักทางวิทยาศาสตร์
1.ตั้งคำถามให้เด็กๆคาดเดา
2.ลงมือปฏิบัติสังเกต
3.บันทึก
4.อภิปราย


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15
วัน อังคาร ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2555

จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ของเด็กนักเรียน โรงเรียนสาธิต 
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ภาพกิจกรรม


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วัน อังคาร ที่ 11 กันยายน พ.ศ.2555

-แบ่งกลุ่ม 9 คน ทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ซึ่งกลุ่มข้าพเจ้าได้เรื่อง ขนมต้ม


ส่วนผสม 
 -แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วย
 -น้ำร้อนเดือด 1/2 ถ้วย
 -น้ำตาลปึก
 -มะพร้าว
 -เกลือ

วิธีทำ
1.นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำเปล่าถ้าไม่ใช้เปล่าอาจเป็นน้ำใบเตยนวดจนนุ่มพอที่จะปั้นได้สะดวก ควรนวดนานๆ อย่างน้อย 30นาที แล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมพักไว้

2.ขูดมะพร้าวด้วยที่ขูดมือเป็นเส้นฝอยเล็กๆแล้วเคล้ากับเกลือป่น 
 3.ปั้นแป้งที่นวดเตรียมไว้เป็นลูกกลมๆ

 4.เมื่อแผ่แป้งแต่ละก้อนให้เป็นแผ่นแบนตามขนาดแล้ว ใส่น้ำตาลปึกที่เตรียมไว้ลงตรงกลาง แผ่นละ ชิ้น ตลบชายหุ้มน้ำตาลให้มิด แล้วปั้นให้กลม


5.ต้มน้ำให้เดือด น้ำแป้งที่ปั้นไว้ลงต้ม พอแป้งสุกจะลอยขึ้นมาบนผิวหน้า ใช้ทัพพีโปร่งตักขึ้น มาพักไว้ที่นำ้เย็นตักขึ้นพักไว้สักพัก จากนั้นนำมาคลุกกับมะพร้าวขูด 




บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่13

วัน อังคาร ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2555

- อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเรื่องการทำบอร์ดของแต่ละกลุ่มข้อดีและข้อบกพร่อง



บันทึกการเข้าอบรม ครั้งที่ 1

วันเสาร์ ที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2555



อบรมการสร้างสือประยกต์



                                          ภาพกิจกรรม


บันทึกการเข้าอบรม ครั้งที่ 1

วันเสาร์ ที่ 25 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2555

อบรมการสร้างสือประยกต์


ภาพกิจกรรม



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันอังคาร  ที่ 21  เดือน สิงหาคม  พ.ศ.2555



-จับกลุ่มกลุ่มละ 8 คน ซึ่งกลุ่ม ข้าพเจ้าได้เรื่อง"ธรรมชาติรอบตัว"
 - สรุปหน่วยการเรียนรู้จากหนังสือที่อาจารย์นำมาเป็น Mind Map 













บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันอังคาร  ที่ 14  เดือนสิงหาคม  พ.ศ.2555



        - ไม่มีการเรียนการสอน

           ( อาจารย์มีการจัดการเรียนชดเชยในวัน อาทิตย์  ที่ 26  เดือน สิงหาคม  พ.ศ. 2555 )

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันอังคาร  ที่ 7  เดือนสิงหาคม  พ.ศ.2555
-ไม่มีการเรียนการสอน
         
 ( อาจารย์ได้นัดชดเชยใน วัน เสาร์ ที่ 25  เดือน สิงหาคม  พ.ศ. 2555 )

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่8

วัน อังคาร ที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ.2555

* ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบปลายภาค

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่7

วัน อังคาร ที่ 24 กรกฏาคม พ.ศ.2555

แหล่งเรีนรู้ทางวิทยาศาสตร์

              -ไบเทค บางนา  งานวิทยาศาสตร์
             - ท้องฟ้าจำลอง
             - หุ่นขี้ผึ้ง
             - พิพิทธภัณฑ์เด็ก
              -พิพิทธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน
              -โอเชี่ยล

ประโยชน์
            1.  ได้ประสบการณ์ตรง
            2.ได้ความรู้
            3.เกิดความสนุกสนาน
            4.  เกิดการใฝ่รู้
            5.เพลิดเพลิน
            6.เกิดความสงสัย
            7.เกิดคำถาม
            8.ตื่นเต้น

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่6

วัน อังคาร ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2555

-อาจารย์ให้เพื่อนนำเสนองานที่แก้ใข
-อาจารย์สอนเรื่องการเล่น
              -การเล่นต้องมีอิสระในการเล่น
              -การเล่นเท่ากับการเรียนรู้
              -การเล่นทำให้เด็กเกิดทักษะ
              -ได้ลองผิดลองถูก
              -มีขั้นตอน มีลำดับ
              -ได้เรียนรู้หลากหลาย
              -สามารถปฏิบัติได้

-วิทยาศาสตร์คือ
            -การทดลอง
            -การจำแนก
            -การปฎิบัติ
            -การสังเกต
            -การเปรียบเทียบ


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่10 กรกฎาคม พ.ศ.2555


- ส่งงานสื่อ & ของเล่นวิทยาศาสตร์








ชื่อของเล่น รถพลังลม
 อุปกรณ์ 
1.     กระดาษแข็ง
2.     แก้วกระดาษ                                        
3.     หลอดดูดน้ำ
4.     ตะเกียบไม้
5.     เทปกาว
6.     กาวน้ำ
7.     ฝาขวดพลาสติก


วิธีทำ
1.      ตัดหลอดดูดน้ำ 2 หลอดให้ยาวกว่าด้านกว้างของกระดาษแข็งเล็กน้อย  ตัดกระดาษให้เป็นรูปวงกลม 4 อัน  ตะเกียบไม้ 1  คู่  และฝาขวดน้ำ 4  ฝา 




2.      ตัดกระดาษแข็งเพื่อเป็นฐานของรถ อาจจะใช้กระดาษสีลายต่างๆ ติดเพื่อเพิ่มความสวยงาม  แล้วติดตะเกียบไม้ไว้ด้านล่างของฐาน ทั้ง 2 สองข้าง




3.      ใช้กระดาษแข็งที่ตัดเป็นวงกลม ติดในฝาขวด ให้ครบทั้ง 4  ฝา แล้วเจาะรู 





4.      หลังจากนั้น ใช้ฝาขวดติดปลายตะเกียบไม้ทั้ง 4 ด้าน และ นำมาติดกับฐานกระดาษแข็งที่ทำไว้แล้ว






5.      ติดแก้วไว้บนฐาน และตกแต่งให้สวยงาม พร้อมเล่น




วิธีเล่นรถพลังลม

ใช้ปากเป่าเพื่อให้รถเคลื่อนตัวไปข้างหน้า   สามารถเล่นแข่งกันได้เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน

รถพลังลมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
"แรงดันอากาศ" คือ แรงที่เกิดจากอนุภาคของอากาศที่เคลื่อนที่ชนกันเองตลอดเวลาในทุกทิศทางพุ่งมาชนผนังภาชนะ  ดังที่ประดิษฐ์  รถพลังลมขึ้น ซึ่งการเล่นรถพลังลม ก็ต้องใช้อากาศ โดยเราเป่าปากแก้ว เพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้  โดยใช้เล่นแข่งกันได้ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และความสนุกสนาน





ชื่อของเล่น  ล ลิงไต่ราว


อุปกรณ์
1.     กระดาษแข็ง                           

2.     เชือก
3.     หลอดดูดน้ำ
4.     กาว หรือ เทปกาวใส
5.     สีไม้


วิธีทำ
1.     วาดรูปลิงใส่กระดาษแข็ง  แล้วระบายสีให้สวยงาม




2.     ตัดรูปลิงที่วาด




3.     ตัดหลอดให้มีความยาวเท่ากับตัวลิงที่วาด เพื่อให้เกิดความสมดุล




4. ติดหลอดไว้ข้างหลังรูปลิง โดยติดเป็นแนวสามเหลี่ยมมุมฉาก


5.     สอดเชือกเข้าไปในหลอดดูดน้ำ แล้วผูกเชือกให้เป็นปม




 วิธีการเล่น  
ดึงเชือก สลับขึ้นไปมา  เพื่อให้ลิงเลื่อนขึ้นไปข้างบน  เล่นได้   คน

ล ลิงไต่ราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ อย่างไร

แรงดึง คือ แรงที่เกิดจากการเกร็งตัวเพื่อต่อต้านแรงกระทำของวัตถุ เป็นแรงที่เกิดในวัตถุที่ลักษณะยาวๆ เช่น เส้นเชือก เส้นลวด  ซึ่ง ล ลิงไต่ราวก็อาศัยแรงดึงเช่นกัน จะเห็นได้ว่าเมื่อเราดึงเชือกขึ้นสลับไปมา ก็จะทำให้ลิงเกิดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้   


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4
วันอังคารที่ กรกฎาคม 2555

-ดูวิดีโอเรื่อง มหัศจรรย์ วิทยาศาสตร์

ฝนเกิดมาจากอะไร
                                เมฆสีเท่าและสีดำที่เราเห็นบนท้องฟ้า  เป็นเมฆที่ฉ่ำไปด้วยน้ำ   แต่เป็นละอองน้ำเล็กจิ๋วรวมกลุ่มกันอยู่ในเมฆสีขาวละอองน้ำเล็ก ๆ ที่ว่านี้มีน้อยกว่าเมฆสีดำ  ละอองน้ำในเมฆเย็นและมีน้ำหนัก  อากาศที่อยู่รอบ   อุ่นและเบากว่าดังนั้นละอองน้ำเล็กจิ๋วนี้จึงตกลงต่ำ  ขณะที่ตกลงต่ำละอองน้ำใดมาพบกันก็รวมเข้าด้วยกัน  กลายเป็นละอองน้ำที่ใหญ่ขึ้นๆ  จนกลายเป็นหยดน้ำตกลงมายังพื้นดิน   แม่น้ำ    ลำคลอง  ทะเล   แม้กระทั่งบ้านเรือน   ทุ่งนาและถนน  หยดน้ำบนโลกจะกลายเป็นไอลอยขึ้นสู่ท้องฟ้ารวมกลุ่มกันเป็นเมฆ  จากเมฆก็กลายเป็นฝนตกลงมา


วัฏจักรของน้ำ 
วัฏจักรของน้ำ (water cycle) หรือชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า วัฏจักรของอุทกวิทยา (hydrologic cycle) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่าง ของแข็งของเหลวและ ก๊าซในวัฎจักรของน้ำนี้ น้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะไปกลับ จากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสิ้นสุด ภายในอาณาจักรของน้ำ (hydrosphere) เช่น การเปลี่ยนแปลงระหว่าง ชั้นบรรยากาศ น้ำพื้นผิวดิน ผิวน้ำ น้ำใต้ดิน และ พืช. กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ สามารถแยกได้เป็น 4 ประเภทคือ การระเหยเป็นไอ (evaporation) , หยาดน้ำฟ้า (precipitation) , การซึม (infiltration) , และ การเกิดน้ำท่า (runoff).
  • การระเหยเป็นไอ (evaporation) เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำบนพื้นผิวไปสู่บรรยากาศ ทั้งการระเหยเป็นไอ (evaporation) โดยตรง และจากการคายน้ำของพืช(transpiration) ซึ่งเรียกว่า evapotranspiration
  • หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นการตกลงมาของน้ำในบรรยากาศสู่พื้นผิวโลก โดยละอองน้ำในบรรยากาศจะรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆและในที่สุดกลั่นตัวเป็นฝนตกลงสู่ผิวโลก รวมถึง หิมะ และ ลูกเห็บ
  • การซึม (infiltration) จากน้ำบนพื้นผิวลงสู่ดินเป็นน้ำใต้ดิน อัตราการซึมจะขึ้นอยู่กับประเภทของดิน หิน และ ปัจจัยประกอบอื่นๆ น้ำใต้ดินนั้นจะเคลื่อนตัวช้า และอาจไหลกลับขึ้นบนผิวดิน หรือ อาจถูกกักอยู่ภายใต้ชั้นหินเป็นเวลาหลายพันปี โดยปกติแล้วน้ำใต้ดินจะกลับเป็นน้ำที่ผิวดินบนพื้นที่ที่อยู่ระดับต่ำกว่า ยกเว้นในกรณีของบ่อน้ำบาดาล
  • น้ำท่า (runoff) หรือ น้ำไหลผ่านเป็นการไหลของน้ำบนผิวดินไปสู่มหาสมุทร น้ำไหลลงสู่แม่น้ำและไหลไปสู่มหาสมุทรซึ่งอาจจะถูกกักชั่วคราวตาม บึง หรือ ทะเลสาบก่อนไหลลงสู่มหาสมุทร น้ำบางส่วนกลับกลายเป็นไอก่อนจะไหลกลับลงสู่มหาสมุทร















งานที่มอบหมาย
จับคู่ 2 คน 
1.ทำสื่อที่ใช้ในมุมวิทยาศาสตร์
 2.ของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์










บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

วันอังคารที่26 มิถุนายน 2555



- ส่ง Mind Map กิจกรรมเรื่อง ไข่